ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านวิทยุสื่อสารบรอดแบนด์ได้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีการใช้งานที่สูงมากในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการใช้งานที่สูงมากในอนาคต ทำให้มีผลกระทบต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ของประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับมีการกำหนดนโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดและจัดสรร คลื่นความถี่ในระดับสากลโดย ITU จึงทำให้มีความจำเป็นที่ประเทศต่างๆทั่วโลก (รวมทั้งประเทศไทย) จะต้องจัดการกับทรัพยากรคลื่นความถี่ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ ไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติ โดยทั่วไป การดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) หรือที่รู้จักกันในนาม WiMAX หรือ “ไวแมกซ์” มีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของชาติเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ให้บริการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงด้วยความกว้างแถบความถี่ (Bandwidth) มากกว่า 1 MHz และรองรับอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงกว่า 1.544 Mbps ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาติได้
รูปแสดงแนวโน้มใน Mobile Wireless Access ที่มีทิศทางมุ่งไปสู่ Mobile BroadbandSource: “3G/UMTS Evolution: towards a new generation of broadband mobile services,” UMTS Forum. Retrieved January 1, 2008, from http://www.umts-forum.org/จากรูปจะเห็นว่า BWA เป็นกลุ่มของเทคโนโลยีที่พัฒนามาคนละเส้นทางกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น 3G ซึ่ง BWA นั้นถูกพัฒนามาจากมาตรฐานทางเทคนิคที่เรียกว่า IEEE802.16 ซึ่งมุ่งเน้นไปในการพัฒนาด้านการส่งข้อมูลสื่อประสม (Multimedia) ด้วยความเร็วสูงเป็นหลัก โดยมิได้เน้นความสามารถในการเคลื่อนที่ (Mobility) มากนัก แต่ในปัจจุบันก็มีความพยายามที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ให้สูง ขึ้นด้วย (พัฒนาจาก IEEE802.16d ไปเป็น IEEE802.16e) และสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น VoIP, Web Browsing, Video Streaming, Video Conferencing และ IPTV เป็นต้น แต่ในทางกลับกันโทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มจากการมุ่งเน้นไปในการสื่อสารทางเสียง (Voice) ประกอบกับความสามารถในการเคลื่อนที่ (Mobility) พร้อมกันโดยมิได้มุ่งเน้นการส่งข้อมูลความเร็วสูง แต่การพัฒนาการด้านการส่งข้อมูลสื่อประสมด้วยความเร็วสูงบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็ถูกให้ความสนใจมากขึ้นในระยะหลังเนื่องจากความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้เปลี่ยนไปนั่นเอง จึงทำให้ทั้งสองเทคโนโลยีเริ่มมีการพัฒนาการเข้าหากันจนอาจเกิดการทับซ้อนกันในอนาคตตามรูปที่แสดง
เทคโนโลยี WiMAX มีความเหมาะสมในการเชื่อมโยงบริการเครือข่ายไปสู่พื้นที่ห่างไกลหรือถิ่นธุร กันดารทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา และยังได้รับความนิยมในประเทศที่กำลังพัฒนาที่ผู้ให้บริการยังไม่ได้ลงทุนใน โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี 3G นอกจาก จุดเด่นของ WiMAX ในเรื่องระยะทางครอบคลุมที่ไกล ความเร็วที่สูง และไม่จำเป็นต้องใช้สายส่งสัญญา

ณแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญที่เรียกว่า “Interoperability” ของ WiMAX ก็เป็นจุดแข็งอีกข้อหนึ่ง เพราะทำให้ WiMAX สามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายมาตรฐานใดก็ได้ ตั้งแต่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ แม้กระทั่งใช้ในรูปแบบโครงข่ายปิดเพื่อการใดโดยเฉพาะ เช่น การควบคุมการเปิดปิดไฟจราจร ดังเช่นที่ประเทศไต้หวันที่ใช้บริการเครือข่ายแบบปิดพร้อมบริการแบบโซลูชั่น จาก นอร์เทล ในการควบคุมสัญญาณจราจร นอกจากนี้ WiMAX ยังมีการเข้ารหัสข้อมูลที่ปลอดภัยสูงอีกด้วย WiMAX จะทำให้การติดตั้งอินเทอร์เน็ตในสถานที่ต่างๆ ทำได้ง่าย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สามารถให้บริการได้หลากหลายมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมีราคาถูกกว่า ความเร็วสูงกว่า เมื่อเทียบกับการให้บริการข้อมูลผ่านสายสัญญาณ จึงสามารถลบข้อจำกัดของการใช้สายของระบบ ADSL ดังนั้นการนำเอาระบบ WiMAX มาใช้ จะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานให้มากขึ้นและบริการต่างๆ ที่จะให้บริการก็มีมากขึ้น Sean Maloney รองประธานฝ่ายบริหารของ Intel Mobility Group ได้กล่าวว่า “ผู้ให้บริการโครงข่ายไร้สายและอุตสาหกรรมอุปกรณ์โทรคมนาคมนั้นกำลังวิ่งตาม และต้องปรับตัวให้ทันเทคโนโลยี WiMAX เพราะความได้เปรียบทางด้านต้นทุนที่มหาศาลในการให้บริการการติดต่อเชื่อมโยง ในระยะทางไกลหลายไมล์แก่พื้นที่ต่างๆในโลก ซึ่งในปัจจุบันยังมีการลงทุนที่สูงเกินไป” กล่าวคือ WiMAX เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีโอกาสขยายตัวได้อย่างมาก ในแง่ตลาด WiMAX สามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าโอเปอเรเตอร์ได้ทุกตลาด ทั้งโมบายโอเปอเรเตอร์ ฟิกซ์ไลน์โอเปอเรเตอร์ บรอดแบรนด์อินเทอร์เน็ต ตลาดทุกประเภทสามารถพัฒนา WiMAX ได้ทั้งสิ้น ทั้งไม่ต้องมีการวางเครือข่ายใหม่เหมือน 3G นอกจากนี้ WiMAX ดังนั้นทำให้มีต้นทุนในการติดตั้งน้อยกว่า 3G จึงทำให้ผู้ให้บริการสามารถนำเสนอบริการ ปัจจุบันคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้กำหนดนโยบายความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีที่หลากหลาย อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนากิจการโทรคมนาคมให้ก้าวหน้าทันสมัยอยู่เสมอ สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมโทรคมนาคมใหม่ๆ อันเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม BWA นับว่าเป็นกิจการโทรคมนาคมที่ กทช. จัดไว้ในระดับความเร่งด่วนสูง โดย กทช. ได้เร่งรัดให้มีการนำมาใช้ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องทางเทคนิคกับผลการประชุมระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม WRC – 2007 และสนองตอบต่อความต้องการภายในประเทศ และได้อนุญาตให้มีการทดลองทดสอบ WiMAX ตามแผนความถี่วิทยุ BWA เพื่อทดลองหรือทดสอบในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และส่งเสริมเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นภายในประเทศ อีกทั้ง กทช. ยังได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับกิจการ Broadband Wireless Access หลายฉบับ (ข้อมูลสามารถค้นหาได้จาก
http://www.ntc.or.th/) และกำลังจัดทำ “ร่างแผนปฏิบัติการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่เพื่อกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ในย่านความถี่ 2300-2400 MHz” เพื่อให้การดำเนินการให้เกิดการจัดสรรความถี่เพื่อกิจการ BWA หรือ WiMAX ให้เกิดขึ้นได้โดยเร็ว โดยสรุป เทคโนโลยี BWA หรือ WiMAX นับเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจและควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพราะในอนาคตข้างหน้า ที่ประสิทธิผลในการทำงานของแต่ละบุคคล (Personal Productivity) นั้นล้วนขึ้นอยู่กับการทำงานแบบเคลื่อนที่ (Mobility) โดยไม่มีขีดจำกัดเรื่องการติดต่อสื่อสารกับแหล่งข้อมูล ซึ่งหมายความถึงการเข้าถึงการสื่อสารไร้สายด้วยความเร็วสูงได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้น ในช่วงระหว่าง 5-10 ปีที่จะถึงนี้ ธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งหลายต่างต้องหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีไร้สาย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรและยกระดับประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิผลในการทำ งาน และเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่อย่าง WiMAX นั้น ก็เป็นหัวใจสำคัญในการเป็นทางเลือกของการเข้าถึงช่องทางการสื่อสารแบบ บรอดแบนด์ไร้สาย โดย WiMAX จะสร้างการเชื่อมต่อไร้สายความเร็วสูงที่คุ้มราคาในบ้านและธุรกิจทั้งในเขต เมืองและชนบทได้โดยสะดวกและราคาถูกกว่าในอดีต อย่างไรก็ตาม เรายังคงต้องติดตามความคืบหน้าของ WiMAX กันต่อไป ว่าจะใช้งานได้จริงและแพร่หลายมากน้อยแค่ไหน เพราะแม้จุดเด่นของระบบไม่ว่าในเรื่องระยะทาง ความเร็ว การไร้ข้อจำกัดของการเชื่อมต่อ ได้ลบจุดอ่อนของระบบอื่นเกือบหมด แต่ WiMAX ก็ยังต้องเผชิญความใหม่ของมาตรฐาน รวมทั้งเรื่องความถี่ของการให้บริการ ซึ่งต้องมีการขออนุญาตจาก กทช. ก่อนให้บริการ ดังนั้นผู้ที่จะลงทุนวางระบบ WiMAX ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน รวมถึงภาครัฐที่ควรจะเรียนรู้จากกรณีศึกษาในประเทศอื่นๆ พร้อมกับนำมาปรับใช้กับการกำหนดนโยบายเพื่อเร่งผลักดันให้โครงสร้างพื้นฐาน ทางเทคโนโลยีของประเทศก้าวหน้าสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น